Faculty Project Presentation


Oral presentation in Faculty of Science and Technology 1/2550

Topic : Cross Section Calculation of High Energy Particles Collider
Speaker : Rintarn Saengsai (s4745711)
Place : Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University (Pattani).




การ คำนวณหาค่าภาคตัด ขวางของการกระเจิงของอนุภาคพลังงานสูง
ฤณธาร แสงไสย์ 1วิโรจน์ คงสง 1รพพน พิชา 2
1มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีปัตตานีประเทศไทย
2สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติกรุงเทพฯประเทศไทย

บทคัดย่อ

จาก การศึกษาการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider(LHC) เพื่อไขปัญหาที่ว่า เกิด อะไรขึ้นใน 3 วินาทีแรกของการกำเนิดจักรวาล ซึ่งในการศึกษาจะใช้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เพื่อคำนวณหาค่าภาคตัดขวาง ซึ่งบ่งชี้ ถึงโอกาสของการเกิดอนุภาค Charm quark และAnticharm quark ในอันตรกิริยาการชนกันของอนุภาค Up quark และAntiup quark จากลำโปรตอน 2 ลำ โดยจำนวนและชนิดของอนุภาคจะเกี่ยวข้องกับค่าภาคตัดขวางของการชนกันและค่าของ โมเมน ตัม จะทำให้เราทราบถึงรูปร่างลักษณะของอนุภาคที่เกิดขึ้นโดยในการศึกษาอนุภาคที่ ใช้ชนถือว่ามีมวล น้อยมาก (~ 2  8 MeV/c*c) เมื่อเทียบกับอนุภาคที่ต้อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้น(~ 1300 – 1700 MeV/c*c) นั่นหมายถึงว่าพลัง งานจลน์หรือโมเมนตัมของอนุภาค Up quark ที่พุ่งเข้าชนกันกับ อนุภาค Antiup quark จะต้องมีค่ามากพอที่จะรวมกับมวลของ ตัวมันเองแล้วเกิดเป็นอนุภาค Charm quark และ Anticharm quark ขึ้น โดยทั้งระดับพลังงานจลน์ และโมเมนตัมจะมีค่าที่ เหมาะสม อยู่ในช่วงประมาณ 2200 MeV/c*c ส่วน ที่ค่าอื่น ๆ โอกาสที่จะเกิดอนุภาคขึ้นก็จะลดน้อยลงนอกจากนั้นในโปร แกรมยังมี การกำหนดทิศทางของอนุภาคที่พุ่งเข้าชนกัน ซึ่งจากการที่มุม phe มีค่าเป็นศูนย์ ทำให้ค่าภาคตัดขวางที่ได้เป็นฟัง ก์ ชั่นของมุม zeta เพียง อย่างเดียว และในส่วนของมุมกระเจิงจะเห็นได้ว่าอนุภาคที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จะกระเจิงไป ในทิศทางเดิม หรือไม่ก็กระเจิงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่อนุภาคต้นกำเนิดพุ่งเข้าชน กันมากกว่ากระเจิงไปในทิศทางอื่น

คำสำคัญ : ควาร์กค่าภาคตัดขวางโปรตอนอนุภาคพลังงานสูงมุมกระเจิง