ความแตกต่างของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยกับเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูกําลัง

ความแตกต่างของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยกับเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูกําลัง

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยจะนํานิวตรอนที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวิจัย การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีเพื่อใช้ในทางการแพทย์ ส่วนความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยาซึ่งจะถูกระบายทิ้ง ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูกําลังจะนําความร้อนที่ได้มาใช้งาน เช่น ไปหมุนกังหันไอนํ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยโดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่าเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูกําลังเป็นอย่างมาก เช่น เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยของสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติมีขนาดเพียง 2 เมกะวัตต์ (MW) เล็กกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใต้หวัน 2 ที่ประเทศใต้หวันซึ่งมีขนาดกําลังความร้อนประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ถึงกว่า 500 เท่า (IAEA, 2007)

ปัจจุบัน (ตุลาคม 2550) มีเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูกําลังที่กําลังเดินเครื่องอยู่กว่า 439 เครื่อง ในหลายประเทศทั่วโลก 5 เครื่องที่หยุดใช้งานไปแล้วและอีก 31 เครื่องที่กําลังก่อสร้าง รวมกระแสไฟฟ้าที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์กว่า 371.686 GW(e) (IAEA, 2007) ในขณะที่มีเครื่อง ปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยอยู่ 280 เครื่องใน 56 ประเทศทั่วโลก (พฤษภาคม 2550) (Paranjpe, 2002) 

แม้ว่าเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยเกือบทุกชนิดจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ทางด้านการผลิตรังสีนิวตรอนเป็นหลักแต่ก็มีบางแบบที่ใช้ผลิตไฟฟ้าด้วยกําลังผลิตน้อยๆ (ไม่เกิน 100 เมกะวัตต์) ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดรวมไปถึงการกลั่นนํ้าทะเลเป็นนํ้าจืดด้วย


ที่มา : 

  • ฤณธาร แสงไสย์. (2550). การจําลองการฉายรังสีนิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์. รายงานวิจัยวิทยาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  • International Atomic Energy Agency.  2007.  Latest news related to PRIS and the status of neuclear power plants.  [Online] : available from : http://www.iaea.org/programmes/a2/.  Access on 07/11/50.  
  • Paranjpe, S.  2002.  Nuclear Research Reactors in the World (IAEA Research Reactor Database - RRDB).  [Online] : available from : http://www.iaea.org/worldatom/rrdb/.  Access on 07/11/50.