B.Sc. Seminar I


Oral presentation in Seminar I 1/2550

Topic : Cross Section Calculation of High Energy Particles Collider
Speaker : Rintarn Saengsai (s4745711)
Place : Department of Physics, Faculty of Science and Technology Prince of Songkla University, Pattani, Thailand.
Date : 3 July 2007



การสัมมนาเชิงฟิสิกส์ ครั้งที่ 1
เรื่อง
การคำนวณหาค่าภาคตัดขวางของการกระเจิงของอนุภาคพลังงานสูง
(Cross Section Calculation of High Energy Particles Collider)

บทคัดย่อ

                    ในการศึกษาภาคตัดขวาง(Cross Section)ของการชนกันของอนุภาค Quark 2 ชนิด คือ Up quark และ Antiup quark ซึ่งมีมวลน้อยมาก (~ 2 – 8 MeV/c*c) เมื่อเทียบกับอนุภาคที่ต้องการศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้น คือ Charm quark และ Anticharm quark (~ 1300 – 1700 MeV/c*c) (สำหรับกรณีศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้อนุภาค Up มวล 5 MeV/c*c และ Charm มวล 1500 MeV/c*c) นั่นหมายถึงว่าพลังงานจลน์หรือโมเมนตัมของอนุภาค Up quark ที่พุ่งเข้าชนกันกับ อนุภาค Antiup quark จะต้องมีค่ามากพอที่จะรวมกับมวลของตัวมันเองแล้วเกิดเป็นอนุภาค Charm quark และ Anticharm quark ขึ้น นั่นก็คือทั้งพลังงานจลน์และโมเมนตัม จะต้องมีค่าไม่น้อยกว่าค่า มวล ของอนุภาค Charm quark ลบด้วย มวล ของอนุภาค Up quark ส่วนที่พลังงานต่ำกว่านี้พบว่าไม่มีโอกาสเกิดอนุภาค Charm quark ขึ้นได้เลย และนอกจากนั้นในโปรแกรมการคำนวณค่าภาคตัดขวางซึ่งมีการกำหนดทิศทางของอนุภาคที่พุ่งเข้าชนกัน และกำหนดให้มุม phe มีค่าเท่ากับศูนย์ แสดงว่าค่าภาคตัดขวางที่ได้ จะเป็นฟังก์ชั่นของมุม theta เพียงอย่างเดียวซึ่งผลการคำนวณของโปรแกรมนอกจากจะทำให้เราเห็นว่าที่ค่าพลังงานจลน์มีค่าต่ำมากๆ และ สูงมากๆ โอกาสที่จะทำให้เกิดอนุภาค Charm quark ขึ้นก็จะลดน้อยลง ในขณะที่พลังงานจลน์ ก็จะมีค่าพลังงานจลน์ค่าหนึ่งประมาณ 2200 MeV/c*c และค่าโมเมนตัมประมาณ 2200 MeV /c*c ที่จะมีโอกาสเกิดอนุภาค Charm ขึ้นมากที่สุด ซึ่งค่า Total Cross Section ที่พลังงานจลน์ และ โมเมนตัมค่าต่างๆ จะทำให้เห็นโอกาสที่จะเกิดอนุภาค Charm quark และ Anticharm quark ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงอาจสรุปได้ว่าโอกาสที่จะเกิดอนุภาค Charm  quark และ Anticharm quark จากการชนกันของ อนุภาค Up quark และ Antiup quark นั้น ระดับพลังงานจลน์ และ โมเมนตัมจะมีค่าที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 2200 MeV/c*c และในส่วนของมุมกระเจิงของอนุภาค Charm quark ที่เกิดขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าอนุภาคที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จะกระเจิงไปในทิศทางเดิมหรือไม่ก็กระเจิงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่อนุภาคต้นกำเนิดพุ่งเข้าชนกันมากกว่ากระเจิงไปในทิศทางอื่น

                   นางสาวฤณธาร แสงไสย์
รหัส s 4745711 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สาขาฟิสิกส์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ปัตตานี)